วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ข่าวไอที

                                                                 คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์มีทั้งหมด  4  ประเภท  ดังนี้
     1 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
2 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
3 มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)
     4 ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC ) รวมถึงโน้ตบุค เน็ตบุค

    ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน


   เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก

   มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)
มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น


    ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC )
ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น อาทิเช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า

ข่าวไอที

วิธีการรักษา Notebook

ใช้งานโน้ตบุ๊กให้ถูกสถานที่        โน้ตบุ๊กควรใช้ในสถานที่ที่มีการถ่ายเทของอากาศที่ไหลเวียนได้สะดวก และการวางโน้ตบุ๊กไม่ควรวางบนพื้นที่มีความนุ่ม เพราะจะทำให้ไปปิดบังช่องระบายความร้อนใต้เครื่องได้ มีผู้ใช้บางกลุ่มนิยมนำโน้ตบุ๊กไปใช้บนที่นอน ซึ่งไม่ควรทำ เพราะที่นอนมีความนุ่มเวลาวางโน้ตบุ๊กลงไป พื้นด้านล่างจะแนบชิดไปกับที่นอนทั้งหมด ไม่มีช่องระบายความร้อน ซึ่งอาจจะส่งผลให้โน้ตบุ๊กเกิดความร้อนสูง จนแฮงค์และไม่สามารถใช้งานได้ต่อไป นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้โน้ตบุ๊กในบริเวณที่มีฝนตก หรือมีความชื้นสูงๆ เพราะจะส่งผลต่อ อุปกรณ์ต่างๆ ภายใน


การชาร์จแบตเตอรี่

         ผู้ใช้ควรอ่านคำแนะนำในการชาร์จแบตเตอรี่ในคู่มือที่มีมาให้ทุกครั้ง โดยเฉพาะการชาร์จไฟครั้งแรก ซึ่งจะต้องชาร์จนานกว่าปกติ หลังจากนั้นก็สามารถชาร์จไฟใหม่ได้ถึงแม้ว่าใช้งานแบตเตอรี่ยังไม่หมด

         มีผู้ใช้หลายท่านให้ข้อคิดเห็นว่า เวลาเสียบปลั๊กใช้งาน ซึ่งแบตเตอรี่เต็มแล้ว ไม่ควรจะใส่แบตเตอรี่เอาไว้ในเครื่อง เพราะจะทำให้ เกิดความร้อน และแบตเตอรี่เสื่อมเร็ว จริงๆ แล้วก็อาจจะเป็นไปได้ แต่ถ้าเรามองอีกมุมหนึ่ง การใส่แบตเตอรี่ค้างเอาไว้ขณะเสียบปลั๊กใช้งานก็เป็นการป้องกันเรื่องของไฟดับกะทันหันได้เช่นกัน เพราะถ้าเกิดไฟดับกระทันหัน จะส่งผลโดยตรงต่อฮาร์ดดิสก์ภายในเครื่อง ซึ่งอาจจะเสียหายได้ทันที โดยปกติแล้วแบตเตอรี่ก็มีอายุการใช้งานโดยเฉลี่ยที่ 2 ถึง 3 ปี ตามแต่ลักษณะของการใช้งานของแต่ละคน ซึ่งก็คงต้องใช้งานให้ถูกวิธีครับ จะช่วยยืด เวลาให้ยาวนานขึ้นไปได้อีกการสำรองข้อมูล

         เนื่องจากโน้ตบุ๊กออกแบบมาเพื่อการพกพา ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดการกระทบ หรือเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันจะค่อนข้างสูง ดังนั้นควรจะมี การสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะข้อมูลที่มีความสำคัญ ซึ่งปัจจุบันโน้ตบุ๊กจะติดตั้งคอมโบไดรฟ์มาให้อยู่แล้ว ดังนั้นการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นซีดีน่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมมากที่สุดครับ ในการสำรองข้อมูลก็ สามารถใช้คำสั่ง Backup ใน Windows XP จัดการได้เลย เข้าไปที่เมนู Start => Programs => Accessories => System => Backup แล้วทำตามขั้นตอนต่างๆ ที่มีหน้าจอแสดงขึ้นมาแนะนำ


การทำความสะอาดโน้ตบุ๊ก

         การทำความสะอาดควรใช้ผ้าแห้งเช็ดทำความสะอาดโดยรอบตัวเครื่อง ยกเว้นจอภาพที่ควรจะใช้ผ้าหรือวัสดุที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ จัดการทำความสะอาด ส่วนตรงคีย์บอร์ดที่มักจะมีฝุ่น หรือเศษผงติดเข้าไปด้านใน ไม่ควรใช้วิธีการเป่า แต่ควรใช้วิธีการดูด อาจจะดูดด้วยเครื่องดูดฝุ่นเพื่อช่วยทำความสะอาดก็ได้เช่นกัน


หลีกเหลี่ยงไม่ให้โดนกระแทก

         เวลาพกพาโน้ตบุ๊กไปใช้งานตามที่ต่างๆ ควรจะมีการระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากเกิดไปกระแทกกับวัสดุอื่นๆ แล้วจะเกิดการ เสียหายที่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะจอภาพที่มีความบอบบางเป็นพิเศษ ทุกครั้งก่อนนำไปใช้งาน ควรนำใส่กระเป๋าที่ออกแบบมาเพื่อใส่โน้ตบุ๊กโดยเฉพาะเพราะด้านในจะมีการบุด้วยวัสดุกันกระแทก เวลาเกิดไปกระแทกโดย ไม่ตั้งใจ วัสดุเหล่านั้นจะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้

อ่านคู่มือก่อนการใช้งาน

         ก่อนการใช้งานทุกครั้ง ผู้ใช้ควรทำความรู้จักโน้ตบุ๊กที่กำลังจะใช้งานให้มากที่สุด ด้วยการอ่านคู่มือ และคำแนะนำต่างๆ เพื่อการใช้งาน ได้อย่างถูกต้อง และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายในระยะยาว ปกติแล้วคู่มือจะแจ้งรายละเอียดของอุปกรณ์ทุกๆ อย่าง ตำแหน่งของพอร์ต และอุปกรณ์ คำเตือนและคำแนะนำต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเบอร์โทรสำหรับติดต่อ สอบถามเมื่อโน้ตบุ๊กเกิดปัญหา

ที่มา :    http://www.welovenotebook.com/article_8.php